-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ริเริ่มโครงการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” เพื่อเชิญชวนให้คนไทย ลด ละ เลิก การดื่มเหล้า โดยใช้แนวทางจากการสร้างชุมชนคนสู้เหล้า
นาข้าวเสีย อ.นาโยง จ.ตรัง เคยเป็นพื้นที่สีแดงของจำนวนผู้ติดสุราและเก็บภาษีสรรพสามิตมากที่สุดในจังหวัดตรัง จากร้านเหล้ากว่า 10 ร้าน ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้เหลือร้านเหล้าเพียงร้านเดียว สิ่งที่น่าจับตามอง คือพวกเขาใช้วิธีใดในการแก้ปัญหาให้ตำบลแห่งนี้เปลี่ยนแปลงไปได้
นับเป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนให้เห็นว่า กลไกการขับเคลื่อนสุขภาวะที่ใช้ในการช่วยเหลือของชุมชนแห่งนี้ได้ผล เพราะครอบครัวที่ดี ย่อมทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข หากเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นในครอบ ครัว สมาชิกต้องเร่งแก้ไขหรือทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ครอบครัว ยังเป็นครอบครัวที่อบอุ่นดังเดิม
“หนุ่มเลิกเหล้า สาวพักตับ” กลไกสำคัญของการงดเหล้าเข้าพรรษา และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ใครหลายคนเลือกที่จะงดเหล้าไปตลอดชีวิต โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ริเริ่มโครงการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 เพื่อเชิญชวนให้คนไทย ลด ละ เลิก การดื่มเหล้า โดยใช้แนวทางจากการสร้างชุมชนคนสู้เหล้า
“ในชุมชนเมื่อก่อนคนดื่มเหล้าเยอะมากเกือบทุกบ้าน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ปัจจุบันชุมชนลดการดื่มเหล้าอย่างเห็นได้ชัด จากร้านเหล้า 10 ร้าน ตอนนี้มีร้านเหล้าในชุมชนเหลือเพียงร้านเดียวเท่านั้น และช่วงเข้าพรรษา ขายเหล้าไม่ได้จนบางร้านต้องหยุดขาย เพราะไม่มีคนซื้อเหล้า ในขณะที่มีร้านเหล้าร้านเดียวก็ขายยาก จากเมื่อก่อนเปิดตลอด 24 ชม. แต่ตอนนี้ก็เปิดเพียงช่วงกลางวันเท่านั้น” นางพยอม หนูนุ่ม หนึ่งในสมาชิกสาวพักตับ กล่าว
นางพยอม ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการดำเนินงานขบวนการ “สาวพักตับ ช่วย ชม เชียร์ คนสู้เหล้า” บอกว่า ล่าสุดมีหนุ่มเข้าร่วมโครงการงดเหล้าในปีนี้ร่วมกว่า 60 คน สามีตนเองก็จะหยุดดื่มเหล้าไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เราภูมิใจมาก ช่วงหลัง ๆ จึงไม่ค่อยมีปัญหาครอบครัว จนตอนนี้เราตั้งเป็นชมรม หนุ่มงดเหล้า สาวพักตับ และเราจะทำต่อไปในตำบลอื่นและขยายไปยังอำเภอนาโยงให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย
ด้าน นางญาณี สรสุวรรณ์ หนึ่งในสาวพักตับเล่าว่า ได้เข้าร่วมโครงการเครือข่ายงดเหล้าตั้งแต่ปี 2557 โดยส่วนตัวในปีแรกตัวเองทำไม่สำเร็จเพราะสามีต่อต้าน และไม่ยอมหยุด ไม่ยอมเลิกเหล้าให้ จนปี 2559 มีความตั้งใจว่าพยายามให้สามีเลิกเหล้าให้ได้ จึงชวนสามีให้ไปร่วมกิจกรรมที่รณรงค์ และสามียอมงดเหล้า
โดยมีเคล็ดลับคือ ใช้ใจ ใช้ความรัก โดยพูดให้ฟังเรื่อย ๆ ว่า รักลูก รักครอบครัว เพราะคนในครอบครัวเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มทำก่อน พอสามีเริ่มหยุดเหล้าได้ ปีต่อมาเขาก็ชวนเพื่อน ๆ ซึ่งบางส่วนยอมเข้ามาร่วมโครงการและงดเหล้าครบพรรษา และตอนนี้มีนักดื่มเหล้าขอร่วมโครงการกับเราเอง
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ชัดเจนว่าชุมชนต้องเห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาและมีทางแก้ไข ชาวตำบลนาข้าวเสีย ได้พิสูจน์เรื่องนี้อย่างดี โดยทนไม่ได้ที่เห็นเยาวชนและพ่อบ้านจับกลุ่มดื่มเหล้า แล้วมีการรวมตัวปรึกษากันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
สุดท้ายก็สามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้บั่นทอนเศรษฐกิจของครอบครัว ลูกจะมีตัวอย่างที่ดี อนาคตของประเทศก็ก้าวไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างนาข้าวเสียซึ่งเดิมเป็นพื้นที่สีแดงมีคนติดสุราจำนวนมากก็ลดลงได้มากที่สุดในจังหวัด
ต.นาข้าวเสีย นับเป็นต้นแบบชุมชนที่ดีที่สามารถใช้กระบวนการ “สาวพักตับ ช่วย ชม เชียร์ คนสู้เหล้า’’ ได้อย่างสำเร็จ เชื่อว่าเหนือสิ่งอื่นใดที่เป็นตัวหนุนเสริมที่สำคัญในกระบวนการนี้คือ “ความรัก’’ ของทั้งหนุ่มเลิกเหล้า สาวพักตับ ที่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และคอยเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันจากการงดเหล้าเข้าพรรษา 3 เดือนกลายเป็นงดเหล้าตลอดชีวิตได้สำเร็จ
https://www.dailynews.co.th/article/750173
19 ก.ค. 65 / อ่าน 961
17 ก.ค. 65 / อ่าน 1076
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1083
12 ก.ค. 65 / อ่าน 760
12 ก.ค. 65 / อ่าน 726