• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

แพทย์ชี้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวิกฤตโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงฆ่าตัวตาย

หมวดหมู่ สุขปลอดเหล้า, วันที่ 3 พฤษภาคม 63 / อ่าน : 1,299


แพทย์ชี้ ดื่มเหล้า-เบียร์ ไม่ช่วยคลายเครียดจากโควิด 19 เสี่ยงขาดสติ ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง ในภาวะมึนเมา

2 พ.ค. 63 นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร คณะแพทยศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักในขณะที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อปอดอักเสบแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือการฆ่าตัวตายด้วยการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต และเกิดผลกระทบทางลบต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจ โดยมีคนที่เจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น ประชาชนทั่วไปมีความเครียดเพิ่มขึ้นทั้งจากความกลัว กังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อของตนเองหรือคนรอบข้าง และจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ

“จากการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่า อันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยจะพบการดื่มเหล้าดื่มเบียร์เพื่อเป็นการคลายเครียดเพิ่มขึ้นและมีการดื่มอย่างหนักมากขึ้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตจากการใช้แอลกอฮอล์เกินขนาดโดยตรงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในภาวะมึนมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ดื่มที่เป็นเพศชาย” นพ.ธีรยุทธ กล่าว

นพ.ธีรยุทธ กล่าวว่า หน่วยงานทางการแพทย์ของหลายประเทศ รวมถึงองค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำถึงการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลานี้ว่า ให้พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มเพื่อคลายเครียดเนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณที่สูงจะทำให้ผู้ดื่มเกิดอารมณ์ที่ผิดปกติ มีการตัดสินใจที่แย่ลง เพิ่มโอกาสเกิดความคิดฆ่าตัวตาย และอาจเกิดความรู้สึกหุนหันพลันแล่นจนลงมือทำร้ายตนเองจนเสียชีวิตได้ ทางเลือกที่ดีกว่าในการจัดการกับความเครียดคือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การหาคนที่ไว้ใจในการปรับทุกข์ หรือการได้ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ หากเกิดความเครียดในระดับที่ผิดปกติจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้นได้ ควรเข้ารับบริการทางการแพทย์ทันที

 

 

NEW18



เรื่องอื่นๆ


รู้จัก ยาเสียสาว GHB ภัยร้ายสังคม สายเที่ยวต้องระวังผสมมาในเครื่องดื่ม!
รู้จัก ยาเสียสาว GHB ภัยร้ายสังคม สายเที่ยวต้องระวังผสมมาในเครื่องดื่ม!

10 พ.ค. 65 / อ่าน 115

คอเหล้าอย่าเสี่ยง เรื่องจริง 'ห้ามกินทุเรียนกับเหล้า' อาจตายได้
คอเหล้าอย่าเสี่ยง เรื่องจริง 'ห้ามกินทุเรียนกับเหล้า' อาจตายได้

9 พ.ค. 65 / อ่าน 139

10 อาหารลดความดันโลหิตสูง อาหารที่ควรทาน-เลี่ยง
10 อาหารลดความดันโลหิตสูง อาหารที่ควรทาน-เลี่ยง

9 พ.ค. 65 / อ่าน 159

หมอให้กินยาตลอดชีวิต 'หนุ่ม กรรชัย' ตัดใจ! เลิกเหล้าและบุหรี่ ทันที!!
หมอให้กินยาตลอดชีวิต 'หนุ่ม กรรชัย' ตัดใจ! เลิกเหล้าและบุหรี่ ทันที!!

3 พ.ค. 65 / อ่าน 236

อันตรายจากการ 'กินยา' พร้อม 'เครื่องดื่มแอลกอฮอล์'
อันตรายจากการ 'กินยา' พร้อม 'เครื่องดื่มแอลกอฮอล์'

22 เม.ย. 65 / อ่าน 282

ตั๊ก บงกช ประกาศเลิกเหล้าตลอดชีวิต!
ตั๊ก บงกช ประกาศเลิกเหล้าตลอดชีวิต!

16 เม.ย. 65 / อ่าน 349

ดูสุขปลอดเหล้าทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker