-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันพบว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดแค่ในเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภาวะความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ รวมถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
สามารถวินิจฉัยได้โดย ซักประวัติตรวจร่างกาย ประเมินภาวะสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง เป็นต้น
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนแรงจากการขาดเลือด กล้ามหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง และการใช้สารเสพติด เป็นต้น เป้าหมายสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เพื่อป้องกันและชะลอการเสื่อมของการทำงานหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิต
การดูแลสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถทำได้ ดังนี้
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ภาพ :iStock
https://www.sanook.com/health/23553/
18 ก.ค. 65 / อ่าน 1182
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1029
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1262
11 ก.ค. 65 / อ่าน 1352
5 ก.ค. 65 / อ่าน 830
4 ก.ค. 65 / อ่าน 891