-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
กรมอนามัยเผยผลโพลชี้ ปชช. ยังไม่เห็นด้วยกรณีปลดล็อกนั่งดื่มในร้านอาหาร เชื่อเพิ่มเสี่ยงโควิดระบาด มากกว่าครึ่งยังไม่เชื่อมั่นในมาตรการป้องกันโควิด 19 ของร้านอาหารที่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
(17 พ.ย.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงข่าวเปิดเมืองปลอดภัยคุมเข้มกินดื่มในร้านอาหารด้วยมาตรการ COVID Free Setting ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา มีการประกาศ 17 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) สามารถดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารได้ ขณะนี้เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์แล้ว กรมอนามัยรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ และข้อสังเกตประเด็น COVID Free Setting ในร้านอาหารที่อนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ การติดเชื้อโควิดในร้านอาหารที่เปิดให้ดื่มแอลกอฮอล์ จะเพิ่มมีโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อในสถานประกอบการ
เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือ 1. มีการรวมกลุ่มมากว่า 1 คน อาจมีคนติดเชื้อไม่แสดงอาการมาร่วมในสถานที่ 2.Long Stay อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ถ้ามากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้น และ 3.Behavior พฤติกรรมพูดคุยสังสรรค์กินดื่มร่วมกัน
ทั้งนี้มีผลสำรวจอนามัยโพล กรณีความเห็นประชาชนต่อการปรับมาตรการให้ดื่มครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารตั้งแต่วันที่ 1-14 พ.ย. 64 มีผู้ตอบแบบสำรวจ 2,823 ราย เกือบ 60% ยังไม่เห็นด้วยเรื่องการดื่ม เนื่องจากกังวลเกิดคลัสเตอร์ใหม่ 90% ยังไม่มั่นใจมาตรการป้องกัน และเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงถึง 50% ส่วนเห็นด้วยกับการเปิดมี 43.2% เพราะเห็นว่า กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้พนักงานและร้านอาหาร
จากการสอบถามพบว่า 8.3% เคยไปใช้บริการร้านอาหารที่อนุญาตให้ดื่มแอลกออฮอล์ได้ มาตรการที่ทำได้ดี คือ จัดอุปกรณ์สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แยกแต่ละบุคคลมากกว่า 60% คัดกรองความเสี่ยงพนักงานและลูกค้าก่อนเข้ารับบริการ และมีการระบายอากาศที่ดี ทำได้มากกว่า 50% แต่มาตรการทำได้ต่ำกว่า 50% คือ งดกิจกรรมที่มีการสัมผัสใกล้ชิด การเว้นระยะห่าง ไม่รวมกลุ่มกันของพนักงาน การสังเกตป้ายสัญลักษณ์ Thai Stop COVID Plus , COVID Free Setting และ SHA Plus
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อมาตรการป้องกันโควิด 19 ของร้านอาหารที่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน พบว่า ไม่เชื่อมั่น 56.6% เชื่อมั่น 43.4% นำมาสู่ข้อคำถามถึงมาตรการของร้านอาหารที่จะทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้น จากผลสำรวจพบว่า ประชาชนจะมั่นใจว่าปลอดภัยในการใช้บริการร้านอาหรรที่เปิดให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน คือ เมื่อร้านผ่านมาตรฐานรับรองของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยแสดงป้ายให้เห็นชัด พนักงานและลูกค้ารับวัคซีนตามเกณฑ์ สุ่มตรวจคัดกรองเชื้อเป็นลบก่อนเข้ารับบริการ และสุ่มตรวจเป็นระยะโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งบางคนแสดงข้อคิดเห็นว่าควรจำกัดเวลาในการดื่มด้วย
“ประชาชนส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจมาตรการให้ดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ซึ่งมาตรการส่วนบุคคล ฉีดวัคซีน ตรวจหาเชื้อ ATK ปฏิบัติตาม COVID Free Setting และ SHA Plus เป็นประเด็นสำคัญทำให้ประชาชนมั่นใจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยังพบ 3 กิจกรรมเสี่ยงที่เห็นบ่อยตามสื่อ คือ 1.มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย และกิจกรรมคล้ายสถานบันเทิง สถานบริการ ซึ่งยังไม่อนุญาตให้เปิดบริการ 2.มีกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ มีการรวมกลุ่มเกินกว่ากฎหมายกำหนด และ 3.มีกิจกรรมเต้นรำ ตะโกนเสียงดังทั้งพนักงานและผู้รับบริการ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว
นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า การเปิดเมืองเปิดประเทศต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย โดย 4 สิ่งที่ทำให้เปิดประเทศปลอดภัย คือ 1.ฉีดวัคซีนครอบคลุมมากที่สุด 2.ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองสูงสุดตลอดวเลา เคร่งครัดทุกสถานที่ทุกโอกาส 3.ผู้ประกอบการ ผู้จัดกิจกรรมต่างๆ เข้มงวด เคร่งครัดปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และ 4.ประชาชนประเมินตนเองว่าเสี่ยง ขอให้หาชุดตรวจ ATK มาตรวจ เพื่อหากพบเชื้อจะได้ทำการแยกกักตัว นำไปสู่การดูแลแต่เนิ่นๆ ตัดวงจรการแพร่ระบาด
https://www.nationtv.tv/news/378852928
17 ก.ค. 65 / อ่าน 1210
15 ก.ค. 65 / อ่าน 1126
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1248
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1157
12 ก.ค. 65 / อ่าน 804
12 ก.ค. 65 / อ่าน 707