-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
ภาวะกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบที่เราต้องระวังเนื่องจากไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาค่ะ ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุนจนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุและกระดูกหัก เมื่อนั้นจึงจะรู้ว่าตนเองเกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว
โรคกระดูกพรุนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยแต่จะยิ่งพบมากในผู้สูงอายุค่ะ เพราะโดยปกติธรรมชาติของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีการสร้างกระดูกใหม่ลดลงและมีการสลายกระดูกเดิมที่มีอยู่ออกไปมากขึ้น ซึ่งนอกจากอายุจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แล้ว อาหารที่เรากินอยู่ก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งวันนี้เราก็มีอาหาร 5 ประเภทที่ควรเลี่ยง เพราะสามารถที่จะไปเร่งทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายและเร็วขึ้น มาดูกันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้างค่ะ
กรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมคือตัวการที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ เนื่องจากในน้ำอัดลมมักจะมีการเติมกรดชนิดนี้เข้าไปเพราะสามารถช่วยให้รสชาติดีขึ้น เมื่อกรดฟอสฟอริกเข้าไปในร่างกายก็จะแตกตัวกลายเป็นฟอสฟอรัส ซึ่งฟอสฟอรัสจะไปทำให้สมดุลของแคลเซียมในร่างกายเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ร่างกายมีการสลายของมวลกระดูกมากขึ้นและนอกจากนี้ในน้ำอัดลมยังมีคาเฟอีนด้วย ซึ่งคาเฟอีนก็เป็นสารที่ทำให้เราเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบางได้เช่นกันค่ะ
กรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมคือตัวการที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ เนื่องจากในน้ำอัดลมมักจะมีการเติมกรดชนิดนี้เข้าไปเพราะสามารถช่วยให้รสชาติดีขึ้น เมื่อกรดฟอสฟอริกเข้าไปในร่างกายก็จะแตกตัวกลายเป็นฟอสฟอรัส ซึ่งฟอสฟอรัสจะไปทำให้สมดุลของแคลเซียมในร่างกายเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ร่างกายมีการสลายของมวลกระดูกมากขึ้นและนอกจากนี้ในน้ำอัดลมยังมีคาเฟอีนด้วย ซึ่งคาเฟอีนก็เป็นสารที่ทำให้เราเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบางได้เช่นกันค่ะ
ในอาหารรสเค็มจะมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างเยอะค่ะ เมื่อเรากินอาหารที่มีรสเค็มจึงทำให้เราได้รับโซเดียมเยอะเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และโซเดียมนี่เองที่ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมได้ โดยร่างกายจะมีการขับแคลเซียมออกทางไตมากขึ้น ดังนั้นการกินอาหารรสเค็มจึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนในอนาคตได้ค่ะ
การดื่มกาแฟนอกจากจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้แล้ว เราก็ยังสามารถสูญเสียแคลเซียมไปพร้อมกันได้ด้วยค่ะ เนื่องจากในกาแฟนั้นมีคาเฟอีน ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำออกและมีแคลเซียมบางส่วนหลุดรอดออกไปพร้อมกับปัสสาวะ ดังนั้นการดื่มกาแฟจึงทำให้แคลเซียมในร่างกายของเราลดลง รวมถึงคาเฟอีนยังกระตุ้นทำให้มีการสลายของมวลกระดูกได้มากขึ้นด้วย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์หรือไวน์ สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงขึ้น และเกิดการรบวนต่อสมดุลแคลเซียมในร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีเป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ หากไม่มีวิตามินดีหรือวิตามินดีน้อยก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้และร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแคลเซียมได้ค่ะ
https://women.trueid.net/detail/aZ2jJ77jQYVZ
18 ก.ค. 65 / อ่าน 2099
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1906
12 ก.ค. 65 / อ่าน 2181
11 ก.ค. 65 / อ่าน 2256
5 ก.ค. 65 / อ่าน 1508
4 ก.ค. 65 / อ่าน 1673