-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
อาหารที่คนเป็นโรคหัวใจไม่ควรกิน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้อาการแย่ลง และอาหารที่คนเป็นโรคหัวใจควรกินบำรุงร่างกายมีอะไรบ้างลองมาดู
การกินอาหารเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของเราได้เลย ยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ก็มีอาหารที่กินได้ และอาหารที่คนเป็นโรคหัวใจไม่ควรกินด้วย เพราะบางอย่างก็อาจไปกระตุ้นอาการของโรคให้กำเริบได้ ดังนั้นเรามาดูกันค่ะว่า อาหารไม่ควรรับประทานสำหรับโรคหัวใจมีอะไรบ้าง และป่วยโรคนี้ควรกินอะไรบำรุงร่างกายดี
โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันเลวสูงอย่างไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู มันหมู ขาหมู มันไก่ หรือน้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ บรรดาของทอด หรือผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย มาการีน ชีส รวมไปถึงอาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก เบคอน แฮม กุนเชียง หมูยอ เป็นต้น อาหารเหล่านี้ควรจำกัดปริมาณ ไม่ควรกินเยอะ เพราะหากไขมันในเลือดมีปริมาณมาก (เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันตามผนังเส้นเลือด เพิ่มความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย หรือโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบได้
อาหารบางอย่างอาจดูไม่มีไขมันมาก แต่แฝงไปด้วยคอเลสเตอรอลสูงจนเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เช่น ปลาหมึก มันกุ้ง เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ไข่นกกระทา เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น เพราะการปล่อยให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงก็อันตรายต่อหัวใจ เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวายได้เหมือนกัน ดังนั้นพยายามคุมคอเลสเตอรอลในเลือดอย่าให้เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไม่ถึงกับห้ามแต่อยากให้เลี่ยงการรับประทานเบเกอรี่ต่าง ๆ เช่น คุกกี้ พัฟ พาย เค้ก เพราะในอาหารประเภทนี้มักจะมีไขมันทรานส์แฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมาร์การีน เนยขาว ครีมเทียม หรือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ซึ่งไขมันทรานส์จะเพิ่มปริมาณไขมันเลวในร่างกาย เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ กระตุ้นภาวะไขมันอุดตันเส้นเลือด เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจขาดเลือดได้
อาหารรสเค็มจัด เช่น ผงปรุงรส ซอสปรุงรส น้ำจิ้มสำเร็จรูป หรืออาหารดองเค็มอย่างผักดอง กะปิ น้ำปลา ปลาเค็ม หรือเนื้อเค็ม เพราะอาหารรสเค็มมักจะมีโซเดียมสูง รวมไปถึงอาหารรสหวานจัดอย่างขนมหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม ผลไม้น้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ขนุน ลำไย น้อยหน่า เพราะน้ำตาลในอาหารเหล่านี้หากสะสมอยู่ในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นไขมันในที่สุด
พิซซ่า ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ หรือแฮมเบอร์เกอร์ เป็นอาหารที่หลายคนโปรดปราน แต่เมนูเหล่านี้มีไขมันและคอเลสเตอรอลค่อนข้างสูง และบางอย่างก็แฝงไขมันทรานส์สุดอันตรายไว้ด้วย ดังนั้นหากเป็นไปได้ เลี่ยงให้ไกลเลยเถอะ
ไม่เพียงแค่กาแฟเท่านั้น แต่เครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนก็ควรเลี่ยงไว้ เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหดตัว เวลาดื่มกาแฟจึงอาจมีอาการใจสั่น กระสับกระส่าย ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในกาแฟยังมีสารกลุ่มไดเทอร์พีนที่ส่งผลให้คอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันเลว (LDL) คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มขึ้นได้ เพิ่มความเสี่ยงเรื่องไขมันอุดตันเส้นเลือดได้อีกด้วย ฉะนั้นหากงดดื่มกาแฟได้ก็จะดี แต่นอกจากกาแฟแล้วก็ยังมีอาหารอื่น ๆ ที่ควรเลี่ยงเพราะมีคาเฟอีนด้วยนะ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ดื่มมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ ก็ส่งผลต่อระบบเลือดและความดันโลหิต และการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในครั้งเดียวอาจทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมลง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หรือเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้เลย
ไฟเบอร์จะช่วยลดการดูดซึมไขมัน ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้และโรคหัวใจได้ ดังนั้น กินได้ทั้งผัก ธัญพืช ซีเรียล ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี หรือพวกถั่วต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสม
ไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เพราะไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้จะช่วยเพิ่มไขมันดีในร่างกาย และลดไขมันเลวไปด้วยในตัว
โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานกับร่างกาย และการกินโปรตีนให้มาก ยังอาจช่วยลดน้ำหนัก ดีต่อระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดได้ อย่างไรก็ตาม โปรตีนที่ควรรับประทานจะเป็นกลุ่มโปรตีนไขมันต่ำ อย่างน้ำเต้าหู้ เต้าหู้ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว ถั่วชนิดต่าง ๆ และใช้วิธีลวก ต้ม ตุ๋น อบ ย่าง หรือนึ่งแทนการทอด หรือหากอยากดื่มนมสามารถดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยได้
วิตามินบางชนิดมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น วิตามินบี 6 และบี 12 ที่ช่วยลดสารโฮโมซิสเตอีน สารก่อโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ดังนั้น ควรกินข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายรับวิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลายด้วย
กระเทียมมีสารอัลลิซิน (Allicin) ที่มีสรรพคุณลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดภาวะเลือดแข็งตัว อันเป็นสาเหตุของเส้นเลือดอุดตันและภาวะหัวใจวาย ซึ่งการกินกระเทียมเพื่อป้องกันโรคหัวใจควรกินกระเทียมสด สับละเอียดครั้งละ 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชาพูน ๆ โดยประมาณ พร้อมอาหาร 3 เวลา
18 ก.ค. 65 / อ่าน 1402
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1224
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1472
11 ก.ค. 65 / อ่าน 1578
5 ก.ค. 65 / อ่าน 949
4 ก.ค. 65 / อ่าน 1026