• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

แพทย์แนะ 9 สาเหตุของอาการ 'นอนไม่หลับ' พร้อมวิธีแก้ปัญหา

หมวดหมู่ สุขปลอดเหล้า, วันที่ 19 มีนาคม 64 / อ่าน : 1,358


 

  • ปกติแล้วคนเราควรนอนวันละประมาณ 6-7 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย หากเรานอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าหรือเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและคนที่เป็นโรคหัวใจ

  • การนอนไม่หลับอาจเกิดจากความเครียดสะสม ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ นอนกรน ขากระตุก ละเมอ ฝันร้ายบ่อย ทำให้ตื่นมามีอาการเพลีย ไม่สดชื่น จึงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนเริ่มการรักษาที่ตรงจุด

หากคุณกำลังมีอาการ 3 อย่างคือ นอนไม่หลับกระสับกระส่าย นอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และมีอาการเพลียโดยไม่มีสาเหตุ อาการเหล่านี้กำลังบ่งบอกถึงคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีได้

นอนไม่พอส่งผลเสียต่อสุขภาพ

พจ.ลิขิตา ทองแย้ม แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ และ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า ปกติแล้วคนเราควรนอนวันละประมาณ 6-7 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย ยกเว้นในวัยเด็กที่อาจจะต้องนอนมากกว่านั้น มีงานวิจัยพบว่า ถ้าคนเรานอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าหรือเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและคนที่เป็นโรคหัวใจ

สำหรับผู้ใหญ่ : คนนอนดึกจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ความอ้วน อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง คิดหรือตัดสินใจช้าลง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ความผิดปกติทางอารมณ์ โรคซึมเศร้าต่างๆ   รวมไปถึงเรื่องของการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เราพบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน อีกด้วย

สำหรับเด็ก : เด็กที่นอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต อาจมีอาการสมาธิสั้น ทำให้ทักษะการเรียนรู้แย่ลง

นอนไม่หลับ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  1. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. การทานของหวานมากก่อนนอน น้ำตาลจะกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว หรือการทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ร่างกายกระสับกระส่าย ทำให้หลับยาก
  4. การบริโภคอาหารรสจัด และอาหารมันๆ มากเกินไปในช่วงเย็นหรือก่อนนอน อาจส่งผลทำให้หลับไม่สนิทได้
  5. การทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์มื้อหนักๆ จะกระตุ้นให้เรานอนไม่หลับ
  6. ความเครียดสะสม และปัญหาสุขภาพจิต
  7. การนอนกรนหรือภาวะหยุดหายในขณะหลับ
  8. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น คอร์ติซอลและเมลาโทนิน รวมทั้งการเข้าสู่ช่วงวัยทองทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
  9. อาการ Restless legs syndrome ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่า มีอะไรมาไต่ที่ขา รู้สึกยุบๆ ยิบๆ หรือมีอาการกระตุกของขา ซึ่งมักเกิดขึ้นเฉพาะเวลากลางคืน หากมีอาการรุนแรงมากอาจจะทำให้นอนไม่หลับต้องขยับขา

วิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับ ด้วยการลองปรับพฤติกรรม

  1. กำหนดเวลาเข้านอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน และควรลุกจากเตียงทันทีเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า
  2. ไม่ควรทำงาน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือบนเตียงนอน
  3. จัดห้องนอนให้มืด เงียบ มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับความต้องการ
  4. ไม่ควรงีบหลับในตอนกลางวัน เพราะส่งผลให้นอนหลับยากในตอนกลางคืน
  5. ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นครั้งละมากๆ หรืออาหารรสจัด เพราะจะทำให้ไม่สบายท้องและหลับยากกว่าเดิม
  6. งดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ในช่วงเย็น
  7. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆ ในช่วงเวลาใกล้จะเข้านอน เพราะอาจจะทำให้ต้องลุกเข้าห้องน้ำในตอนดึกได้
  8. อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน จะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หลับได้ง่ายขึ้น

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :พจ.ลิขิตา ทองแย้ม แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ และ รพ. สมิติเวช สุขุมวิท

ภาพ :iStock

 

https://www.sanook.com/health/27649/



เรื่องอื่นๆ


เข้าพรรษาเลิกเหล้า อย่าหักดิบ! หมอเตือนหลังพบคนไข้มา รพ.ด้วยอาการขาดสุรา
เข้าพรรษาเลิกเหล้า อย่าหักดิบ! หมอเตือนหลังพบคนไข้มา รพ.ด้วยอาการขาดสุรา

18 ก.ค. 65 / อ่าน 1182

รพ.สวนปรุง แนะดื่ม ลด งดสุราช่วงเข้าพรรษา !
รพ.สวนปรุง แนะดื่ม ลด งดสุราช่วงเข้าพรรษา !

14 ก.ค. 65 / อ่าน 1029

แนะเตรียมตัวหยุดดื่มก่อน งดเหล้าเข้าพรรษา
แนะเตรียมตัวหยุดดื่มก่อน งดเหล้าเข้าพรรษา

12 ก.ค. 65 / อ่าน 1262

งดเหล้าเข้าพรรษาได้อะไร?
งดเหล้าเข้าพรรษาได้อะไร?

11 ก.ค. 65 / อ่าน 1352

ล้วง 'ตับ' รู้ลึกความสำคัญ  แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
ล้วง 'ตับ' รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี

5 ก.ค. 65 / อ่าน 830

สายตี้พึงระวัง! ดื่มแอลกอฮอล์ประจำเสี่ยงติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย
สายตี้พึงระวัง! ดื่มแอลกอฮอล์ประจำเสี่ยงติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย

4 ก.ค. 65 / อ่าน 891

ดูสุขปลอดเหล้าทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker