-
หลังจาก 1 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 6 เดือน
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 1 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ. -
หลังจาก 5 ปี
คุณจะต้องจ่าย บ.
พท.นพ.รุตติ ชุมทอง ศัลยแพทย์ด้านศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ กล่าวว่า มะเร็งช่องปาก คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในช่องปากหลายๆ อวัยวะ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และพื้นปากใต้ลิ้น ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและอันตรายหากมาตรวจพบในระยะลุกลาม
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งช่องปาก คือ
เป็นต้น
ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการมีตุ่ม ก้อนเนื้อ หรือรอยแผลที่รักษาไม่หายนานเกินกว่า 2-3 สัปดาห์ อาจพบว่ามีเลือดออกจากรอยแผลนั้น หรือมีอาการชาจากการลุกลามเพราะมะเร็งไปทำลายเส้นประสาท หรือการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง จนสามารถคลำเป็นก้อนได้ที่ลำคอ การสังเกตมะเร็งช่องปากอาจตรวจพบเพียงรอยปื้นแดงหรือขาวบนเยื่อบุช่องปากโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ดังนั้นการมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องปากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสี หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาด ตำแหน่ง ชนิดของมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้อาจทำเคมีบำบัดในคนไข้บางราย หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มหรือตั้งแต่เป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous Lesion) และได้รับการรักษา มีโอกาสหายขาดและมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงมากกว่าการตรวจพบในระยะลุกลาม
นอกจากนี้ โรคมะเร็งช่องปากระยะลุกลามอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะในช่องปาก เช่น ปากผิดรูป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการพูด การกลืน ซึ่งจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการทำงาน และทำกายภาพบำบัดเพื่อคืนการทำงานของอวัยวะในช่องปากร่วมด้วย
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :พท.นพ.รุตติ ชุมทอง ศัลยแพทย์ด้านศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ
ภาพ :iStock
https://www.sanook.com/health/27697/
18 ก.ค. 65 / อ่าน 1178
14 ก.ค. 65 / อ่าน 1026
12 ก.ค. 65 / อ่าน 1262
11 ก.ค. 65 / อ่าน 1350
5 ก.ค. 65 / อ่าน 830
4 ก.ค. 65 / อ่าน 891