• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • Clip Video
  • สื่อรณรงค์
  • รวมลิงค์
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์
  • Clip Video
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

อย. เผย 'การรับประทานยาบางกลุ่ม พร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์' เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย

หมวดหมู่ สุขปลอดเหล้า, วันที่ 7 มีนาคม 65 / อ่าน : 791


มักมีคำถามสอบถามกันมาบ่อย ๆ ว่า การรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดอันตรายจริงหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่จะเกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มียาบางกลุ่มที่หากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดผลข้างเคียงได้ เพราะ “ยา” ก็เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน หมายความว่า ยามีทั้งสรรพคุณที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น แต่ก็มีผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเช่นกัน ดังนั้น การรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผลข้างเคียงจึงเป็น... เรื่องจริง

 สำหรับตัวอย่างยาที่อาจเกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ เช่น

     1. กลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) เช่น Chlorpheniramine Dimenhydrinate  Brompheniramine Hydroxyxine มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงซึม หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะยิ่งทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น จนอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

     2. ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic) เช่น Metronidazole Tinidazole

     3. ยาลดน้ำตาลในเลือด (Sulfonylureas) เช่น Glipizide Glyburide

     โดยกลุ่มที่ 2 และ 3 หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะเกิดอาการดังนี้

- หน้าแดง

- ปวดหัว เวียนหัว

- อาเจียน

- หายใจติดขัด

- วิตกกังวล สับสน มึนงง

     4. ยาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น การกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยารักษาวัณโรคร่วมกับแอลกอฮอล์เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับ



     นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายกลุ่มที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อยานอนหลับ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ควรรับประทานยาร่วมกับน้ำดื่มสะอาด และควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการรักษาด้วยยา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง 

 

 

 

https://www.js100.com/en/site/post_share/view/115727 



เรื่องอื่นๆ


เข้าพรรษาเลิกเหล้า อย่าหักดิบ! หมอเตือนหลังพบคนไข้มา รพ.ด้วยอาการขาดสุรา
เข้าพรรษาเลิกเหล้า อย่าหักดิบ! หมอเตือนหลังพบคนไข้มา รพ.ด้วยอาการขาดสุรา

18 ก.ค. 65 / อ่าน 1182

รพ.สวนปรุง แนะดื่ม ลด งดสุราช่วงเข้าพรรษา !
รพ.สวนปรุง แนะดื่ม ลด งดสุราช่วงเข้าพรรษา !

14 ก.ค. 65 / อ่าน 1028

แนะเตรียมตัวหยุดดื่มก่อน งดเหล้าเข้าพรรษา
แนะเตรียมตัวหยุดดื่มก่อน งดเหล้าเข้าพรรษา

12 ก.ค. 65 / อ่าน 1262

งดเหล้าเข้าพรรษาได้อะไร?
งดเหล้าเข้าพรรษาได้อะไร?

11 ก.ค. 65 / อ่าน 1351

ล้วง 'ตับ' รู้ลึกความสำคัญ  แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
ล้วง 'ตับ' รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี

5 ก.ค. 65 / อ่าน 830

สายตี้พึงระวัง! ดื่มแอลกอฮอล์ประจำเสี่ยงติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย
สายตี้พึงระวัง! ดื่มแอลกอฮอล์ประจำเสี่ยงติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย

4 ก.ค. 65 / อ่าน 891

ดูสุขปลอดเหล้าทั้งหมด


ค่าใช้จ่ายที่คุณดื่มใน 1 สัปดาห์

(บาท)
  • หลังจาก 1 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 6 เดือน
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 1 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.
  • หลังจาก 5 ปี
         คุณจะต้องจ่าย บ.

หมวดข่าว

  • ข่าวรอบสัปดาห์
  • ข่าวภัยจากน้ำเมา
  • ข่าวรณรงค์
  • ข่าวงดเหล้าทั่วไทย
  • ข่าวต่างประเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • สุขปลอดเหล้า
  • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

เครือข่าย

  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานบน
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคอีสานล่าง
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันออก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคกลาง
  • กรุงเทพมหานคร
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคตะวันตก
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้
  • เครือข่ายงดเหล้าภาคใต้ตอนล่าง

Links

  • เกี่ยวกับ stopdrink.com
  • ปรึกษาการเลิกเหล้า 1413
  • Stopdrink TV
  • สื่อรณรงค์/ดาวน์โหลด
  • รวมลิงค์
  • ติดต่อเรา

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
110/287-288 ม.6 ซอยโพธิ์แก้ว แยก 4 ถ.โพธิ์แก้ว แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240
โทร 02 948 3300 , Fax สคล. 02 948 3930, Fax สปอนเซอร์ชิป 02 948 3302
eXTReMe Tracker